Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • “มิไร” รถพลังไฮโดรเจน นวัตกรรมยานยนต์โลกจาก “โตโยต้า”

“มิไร” รถพลังไฮโดรเจน นวัตกรรมยานยนต์โลกจาก “โตโยต้า”

“โตโยต้า” กับมหาวิทยาลัยโทโฮคุ (วิทยาเขตอาโอบายามะ) เมืองเซนได จังหวัดมิยากิ ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกันจัดแสดงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) หลายรุ่นและชิ้นส่วนเซลล์เชื้อเพลิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพยายามพัฒนารถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปล่อย “มลพิษเป็นศูนย์” เช่น รถบรรทุก, รถบัส Coaster, รถมิไร (MIRAI) เพื่อร่วมสร้างสังคมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานในอนาคตที่สร้างความสะดวกสบายทุกๆ ด้าน และเป็นความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคโทโฮคุผ่านธุรกิจยานยนต์ และการใช้แนวทางต่างๆ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนรวมถึงไฮโดรเจน

หนึ่งในรถอนาคตที่เป็นไฮไลต์ก็คือ “มิไร” รถยนต์ซีดานที่พัฒนาขึ้นมาโดยเจเนอเรชั่นที่ 1 ใช้แพลตฟอร์มร่วมกับ “เลกซัส” รถหรูค่ายเดียวกัน โดยวางระบบขับเคลื่อนของไฮโดรเจนใช้เวลา 3 ปี มีรถมิไรอยู่ทั่วโลก 12,000 คัน วิ่งอยู่บนถนนกว่า 250,000 กม. ต่อคัน หรือวิ่งได้ระยะทางรวมมากถึง 300 ล้าน กม. แสดงให้เห็นว่ารถมิไร สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง เพราะการเติมไฮโดรเจน 1 (ขนาด 4.2 กก.) ครั้งสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 650 กม.

ต่อมาพัฒนา “มิไร” เจเนอเรชั่นที่ 2 ขึ้นมาแก้จุดด้อยสร้างจุดเด่นขยายความจุของถังให้มากขึ้นแต่น้ำหนักลดลงสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 800 กม. ต่อการเติมไฮโดรเจน 1 ครั้ง (ความจุถัง 5.5 กก.) และใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่าเท่านั้นสามารถทำยอดขายไปแล้ว 10,000 คัน หรือปัจจุบันมีรถยนต์มิไรรวมทั้ง 2 รุ่นจำนวน 22,000 คันทั่วโลก สำหรับลูกค้าได้นำรถไปใช้งานในชีวิตประจำวันและงานหนัก ซึ่งปัญหาหลักของการใช้รถพลังไฮโดรเจนที่สำคัญก็คือต้นทุนพลังงานที่แพงและหาที่เติมพลังงานยาก นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ยังต้องพัฒนาเพื่อให้การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และต้นทุนต่ำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม โตโยต้า ได้สร้างความฮือฮาให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกกับความก้าวหน้าในระบบขับเคลื่อนแบบใหม่ที่ใช้พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน สะอาดและมีความยั่งยืน มีระยะทางในการขับใช้งานและเวลาในการเติมพลังงานเชื้อเพลิง เท่ากับรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะมิไร เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่เริ่มออกขายเมื่อปี 63 ทำตลาดจากประเทศญี่ปุ่น ทวีปอเมริกาเหนือ และในทวีปยุโรป

ขณะเดียวกันโตโยต้าได้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์พลังงานเชื้อเพลิง ถังเก็บพลังงานไฮโดรเจนขนาดใหญ่ มีความปลอดภัยสูง และใช้การทดสอบทั้งการชนอย่างหนักหรือใช้ปืนยิงพบว่าถังบรรจุเชื้อเพลิงความหนา 3 ชั้น มีความแข็งแรงไม่มีการรั่วไหลของก็าซไฮโดรเจนหากเกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามการออกแบบใหม่โดยใช้แพลตฟอร์มใหม่ในสถาปัตยกรรมยานยนต์ของโตโยต้า หรือที่เรียกกันว่าทีเอ็นจีเอ-แอล (เลกซัส รุ่นแอลเอส) และใช้แชสซีแบบรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง

สำหรับการเติมไฮโดรเจน ที่สถานีเติมเชื้อเพลิงมีขั้นตอนและระยะเวลาในการเติมเท่ากับรถยนต์ปกติที่เติมน้ำมันแล้วถูกเก็บในถังแรงดันสูง 700 บาร์ ถังเชื้อเพลิงผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีความแข็งแกร่งและมีน้ำหนักเบา ขณะที่ แบตเตอรี่แบบพิเศษ ช่วยเสริมกำลังให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเมื่อผู้ขับกดคันเร่งอย่างรุนแรงในช่วงความเร็วต่ำ แบตเตอรี่จะป้อนไฟเข้าสู่มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนโดยยังไม่ต้องพึ่งพาไฮโดรเจน เมื่อคนขับเหยียบเบรกหรือยกคันเร่งระบบจะทำการชาร์จกระแสไฟฟ้าเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้านรูปลักษณ์ของมิไรภายนอกคล้ายกับเลกซัส รุ่นแอลเอส สปอร์ตซีดาน กระจังหน้าแบบซี่แนวนอนคล้ายรุ่นคัมรี ไฟหน้าแบบแอลอีดี พร้อมไฟเดย์ไทม์รันนิ่ง ไลต์ ฝากระโปรงยกสันนูนบริเวณขอบของไฟหน้าเพื่อสร้างมิติมุมมองที่งดงาม เสาหน้าค่อนข้างลาดเอียงออกแบบโดยคำนึงถึงระบบอากาศพลศาสตร์ด้วยการลดแรงเสียดทานอากาศดีขึ้น ไฟท้ายทรงยาวน่ามอง ด้วยมิติตัวถังมีขนาดความยาว 4,973 มม. ความกว้าง 1,885 มมคำพูดจาก เว็บปั่นสล็อต. ความสูง 1,470 มม. และความยาวฐานของล้อ 2,918 มม. ล้อขนาด 20 นิ้ว และรถมีน้ำหนักรวม 1,930 กก.

เมื่อได้ลองนั่งมิไร โดยมีเจ้าหน้าที่ขับให้นั่งทดสอบ เมื่อสังเกตด้านหน้าทั้งหมดดูเรียบง่ายใช้งานสะดวกตกแต่งด้วยวัสดุพรีเมียม แผงควบคุมขนาด 12.3 นิ้วตรงกลาง หน้าปัดโอบล้อมคนขับ ด้านเบาะด้านหลังมีอุโมงค์กลางค่อนข้างสูงนั่งให้สบายได้แค่ 2 คน แต่นั่งสบาย ภายในห้องโดยสารเงียบ นุ่มนวล

นอกจากนี้ยังได้นั่งรถบัส Coaster อีกหนึ่งนวัตรกรรมยานยนต์ที่โตโยต้าจัดให้สัมผัสประสบการณ์ ความสะดวกสบายไม่ต่างจากรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์ แต่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ นั่นหมายความว่าจากนี้ไปนวัตกรรมยานยนต์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆ นอกจากความแรง ความเร็ว ความปลอดภัยแล้วต้องคำนึงถึงสังคมโลกที่ต้องขับเคลื่อนด้วยความสุข.